อื่นๆ

คำถาม-คำตอบ ราคามาตรฐานงบประมาณ

เปลี่ยนการแสดงผล

  1. หน้าหลัก   >  สำนักงบประมาณ   >  โฆษกสำนักงบประมาณ   >  ข่าวสารจากโฆษกสำนักงบประมาณ   >  เรื่อง ข้อวิจารณ์รัฐบาลบริหารประเทศแบบขาดวินัยทางการคลัง  
เรื่อง ข้อวิจารณ์รัฐบาลบริหารประเทศแบบขาดวินัยทางการคลัง
ผู้เข้าชม : 1188

เรื่อง ข้อวิจารณ์รัฐบาลบริหารประเทศแบบขาดวินัยทางการคลัง
ข้าพเจ้า นายบุญชู ประสพกิจถาวร / โฆษกสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี  ขอรายงานผลการชี้แจงประเด็น ข้อวิจารณ์รัฐบาลบริหารประเทศแบบขาดวินัยทางการคลัง
ผู้ชี้แจง  นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา /ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี 

สาระสำคัญ : ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เผยแพร่บทความเรื่อง “8 เหตุผลที่ผมไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์    จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีก” โดย 1 ใน 8 เหตุผลมีการวิจารณ์ในประเด็นการบริหารประเทศแบบขาดวินัยทางการคลัง ในประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 : ในระยะเวลา 3 ปีหลังของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาลกระทำการที่ขาดวินัยทางการคลัง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ ขาดดุลเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อขาดดุลประจำปีเพิ่มอีกไม่ได้แล้วก็ใช้วิธีอนุมัติงบประมาณที่มีผลผูกพันไปในอนาคต จนถึงปีงบประมาณปัจจุบันมีการผูกพันงบประมาณไปในระยะ 5 ปีข้างหน้าถึง 1,178,275 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

สำนักงบประมาณขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. ช่วงปี 2557 - 2558 เศรษฐกิจไทยประสบกับภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้ภาคการส่งออกของไทยอยู่ในภาวะหดตัว การลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการขยายตัวลดลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการผลิตภาคเกษตรประสบปัญหาภัยแล้งและราคาผลผลิตการเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ ทำให้กลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคภายในประเทศประสบปัญหา ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงมีมาตรการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง อาทิ รถไฟรางคู่และรถไฟฟ้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนได้มีการต่อยอดการลงทุนจากภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจัดทำงบประมาณขาดดุล   โดยปี 2559 ขาดดุลจำนวน 390,000 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 552,921.7 ล้านบาท และปี 2561 จำนวน 550,358 ล้านบาท  ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังโดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในช่วงร้อยละ 41.81 - 42.01 ระหว่างปี 2559 - 2561 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 60 ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
2. จำนวนเงินที่จะผูกพันในช่วง 5 ปี ข้างหน้านั้น ยังคงอยู่ภายใต้กรอบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552  เรื่อง หลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ทั้งนี้ การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณในแต่ละปีจะมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ  เรื่อง  กำหนดสัดส่วนต่างๆ เพื่อเป็นกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณ (ไม่รวมเงินนอกงบประมาณ และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด)  โดยในปี 2557 สัดส่วนร้อยละ 6.095  ปี 2558 สัดส่วนร้อยละ 6.947  ปี 2559 สัดส่วนร้อยละ 8.070  ปี 2560 สัดส่วนร้อยละ 8.007 ปี 2561  สัดส่วนร้อยละ 7.746 และปี 2562  สัดส่วนร้อยละ 8.854


ประเด็นที่ 2 : งบผูกพันของกระทรวงกลาโหม จำนวนสูงถึง 177,294 ล้านบาท (ในขณะที่งบประจำปีเป็นเพียง 227,000 ล้านบาท) เป็นเรื่องที่ดูแล้วขาดวินัยการคลัง นอกจากการสร้างเรือดำน้ำซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี (ประมาณ 30,000 ล้านบาทเศษ) และยานยนต์บางประเภทแล้ว อาวุธต่างๆ ไม่ได้ใช้เวลานานในการสร้างไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นงบผูกพันแต่อย่างใด สามารถรอตั้งเป็นงบประจำปีได้ 

สำนักงบประมาณขอเรียนชี้แจงดังนี้ 
งบประมาณผูกพันของกระทรวงกลาโหม ยังคงอยู่ภายในเกณฑ์สัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนดตาม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 และอยู่ภายในกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไม่เกินอัตราร้อยละ 60 40 20 และ 10 ในปีแรก ปีที่สอง ปีที่สาม และปีที่สี่ ตามลำดับ  

วันที่ประกาศ : 26 ธ.ค. 2561 | 14:00 น.
วันที่แก้ไขล่าสุด : 26 ธ.ค. 2561 | 14:09 น.
0 Shares