มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

เปลี่ยนการแสดงผล

  1. หน้าหลัก   >  ความโปร่งใส   >  มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต   >  มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม สำนักงบประมาณมีการดำเนินการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรค 2 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ   
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม สำนักงบประมาณมีการดำเนินการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรค 2 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
ผู้เข้าชม : 323

         การเปิดโอกาสให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในการดำเนินการตามภารกิจหลักของสำนักงบประมาณด้านการจัดการงบประมาณ  ได้แก่  กระบวนการวางแผนงบประมาณ  กระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  กระบวนการติดตามประเมินผล  เป็นต้น

           1)  กระบวนการวางแผนงบประมาณ

           ผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนงบประมาณ ได้แก่ รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี  รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี ที่รับผิดชอบ  กระทรวงและหน่วยงานอื่นของรัฐ  เป็นต้น  โดยรัฐบาล/คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดทิศทางนโยบายงบประมาณ  พิจารณาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงหรือหน่วยงานมอบนโยบายและกำหนดลำดับความสำคัญของนโยบาย โครงการที่รับผิดขอบหรือมีส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น เห็นชอบคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีส่งให้สำนักงบประมาณ เป็นต้น

            2)  กระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

            ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรค 2 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติโดยในการรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยต้องรับฟังผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น หรือผ่านเว็บไซต์  www.lawamendment.go.th

หรือจะใช้วิธีอื่นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน 

           ภารกิจหลักที่สำคัญของสำนักงบประมาณ คือ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ....  โดยกระบวนการท้ายสุดคือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ....   จึงได้กำหนดมาตรการ กลไก และวางระบบที่สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้ในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้   

            วิธีการ  มี 2 รูปแบบ โดยจำแนกตามประเภทผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  คือ

                     1. ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่นำเสนอคำของบประมาณประจำปี  สำนักงบประมาณจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณฯ นั้น 

                     2. ประชาชนทั่วไป  สำนักงบประมาณได้จัดทำระบบ “การรับฟังความคิดเห็น การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ....”  โดยเปิดให้ประชาชนสามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดของ (ร่าง) พรบ. งบประมาณประจำปี  และแสดงความคิดเห็นผ่านระบบที่หน้าเว็บไซต์สำนักงบประมาณ  ซึ่งประชาชนสามารถศึกษาวิธีการใช้ระบบจากคู่มือวิธีการใช้งานระบบที่เผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงบประมาณ   

            กลไก กระบวนการ และผู้รับผิดชอบการดำเนินการ

           กองนโยบายงบประมาณสำนักงบประมาณ  เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกระบวนการดังกล่าว และนำเสนอผู้บริหารสำนักงบประมาณ คือ  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเพื่ออนุมัติให้ดำเนินการ โดยมีกลไกและกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้ 

                   1. จัดทำแผนปฏิบัติงานการรับฟังความคิดเห็นเพื่อการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562  ซึ่งเป็นกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของประเทศ

                   2. ประสานกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดทำช่องทางการรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์สำนักงบประมาณ   ซึ่งศูนย์เทคโนฯ จะดำเนินการจัดทำช่องทางและคู่มือวิธีการใช้งานระบบ

                   3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.....  เพื่อทำหน้าที่รวบรวมความเห็น  วิเคราะห์ผลการรับฟังความคิดเห็ฯ และจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น

                   4. จัดทำหนังสือเชิญผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเพื่อเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น 

                   5.  จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562  และเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงบประมาณhttp://www.bb.go.th/topic.php?gid=230&mid=270

             3) กระบวนการติดตามประเมินผล

           กองประเมินผลมีภารกิจโดยรวมรับผิดชอบในการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลความสำเร็จของการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่อคณะรัฐมนตรี  ทั้งนี้ กองประเมินผลจะคัดเลือก  โครงการสำคัญเพื่อประเมินผลเชิงลึก  ซึ่งจะมีการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินโครงการโดยใช้เครื่องมือการประเมินภายใต้รูปแบบที่จะใช้ในการประเมินและวิธีการการประเมินที่กำหนด เช่น การจัดทำแบบประเมินผล แบบสอบถาม หรือการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ทั้งในส่วนของหน่วยงาน ข้าราชการ ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เป็นต้น  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วน สำหรับนำมาวิเคราะห์ประเมินผลสำเร็จของโครงการ เป็นต้น

ไฟล์แนบ

มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม.pdf

วันที่ลงประกาศ : 08 พ.ค. 2562   |   11:29   |   จำนวนการดาวน์โหลด : 124 ครั้ง
ดาวน์โหลด ขนาดไฟล์ : 126.52 KB
วันที่ประกาศ : 07 พ.ค. 2562 | 00:00 น.
วันที่แก้ไขล่าสุด : 12 ก.ค. 2562 | 17:10 น.