สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณขอเรียนว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สถาบันพัฒนาบุคลากรฯ มีแผนดำเนินการจัดอบรมโครงการหลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับกลาง (นงก.) รุ่นที่ ๓ ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครเข้าศึกษาอบรมในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๖๔ ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดของโครงการได้ทางหน้าเว็บไซต์ www.bb.go.th/BMMP/
สำนักงบประมาณขอเรียนว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๒ กำหนดให้งานจ้างเหมาก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ก็ให้นำเงื่อนไข หลักเกณฑ์ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ไปใช้ด้วย ในกรณีที่จำเป็นต้องเพิ่มเงิน ให้ใช้เงินจากงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเองหรือจ่ายตามสัดส่วนแหล่งที่มาของเงินค่าก่อสร้างนั้น หรือตามที่สำนักงบประมาณพิจารณาวินิจฉัยแล้วแต่กรณี
ดังนั้น ในกรณีที่หารือดังกล่าวข้างต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจโครงการก่อสร้างแล้ว ได้ประกาศประกวดราคาและทำสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เมื่อผู้รับจ้างได้เรียกร้องเงินเพิ่มค่างานก่อสร้างดังกล่าว แยกเป็น
๑. กรณีสัญญาจ้างมีวงเงินไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๔๐๗/ว ๑๕๐ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔ หน่วยงานภาครัฐเจ้าของสัญญาจ้าง ต้องตรวจสอบและอนุมัติการจ่ายเงินเพิ่มค่างานก่อสร้างโดยใช้เงินงบประมาณเหลือจ่าย หรือเงินนอกงบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณ หรือเงินอื่นใดที่อาจนำมาจ่ายให้กับผู้รับจ้างได้ และหากไม่มีเงินดังกล่าวแล้วให้ขอใช้จากเงินงบกลาง รายการเงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง จากสำนักงบประมาณ
๒. กรณีสัญญาจ้างที่มีวงเงินเกิน ๕๐ ล้านบาท หน่วยงานภาครัฐเจ้าของสัญญาจ้างได้ตรวจสอบการจ่ายเงินเพิ่มให้กับผู้รับจ้างแล้ว ต้องส่งให้สำนักงบประมาณตรวจสอบและเห็นชอบก่อนจ่ายเงินเพิ่มดังกล่าว พร้อมระบุแหล่งที่มาของเงินค่าก่อสร้าง และแหล่งเงินที่จะนำมาจ่ายเงินเพิ่มให้กับผู้รับจ้างด้วย
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๒ กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ข้อ ๓ ไว้ว่า "การนำสัญญาแบบปรับราคาได้ไปใช้นั้น ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งและประกาศให้ผู้รับจ้างทราบ เช่น ในประกาศประกวดราคาและต้องระบุในสัญญาจ้างด้วยว่างานจ้างเหมานั้น ๆ จะใช้สัญญาแบบปรับราคาได้ พร้อมทั้งกำหนดประเภทของงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ให้มีการปรับเพิ่มหรือลดค่างานไว้ให้ชัดเจน ในกรณีที่มีงานก่อสร้างหลายประเภทในงานจ้างคราวเดียวกัน จะต้องแยกประเภทงานก่อสร้างแต่ละประเภทให้ชัดเจนตามลักษณะของงานก่อสร้างนั้น ๆ และให้สอดคล้องกับสูตรที่กำหนดไว้"
ดังนั้น ในประกาศประกวดราคาและเอกสารแนบท้ายสัญญาจะต้องระบุสูตรการปรับราคาได้ (ค่า K) ให้ครอบคลุมงานก่อสร้างแต่ละประเภทให้ชัดเจน และครบถ้วนตามลักษณะของงานก่อสร้าง ๆ นั้น หากจะระบุสูตรการปรับราคาได้ (ค่า K) ทั้ง ๓๕ สูตร หรือจะกำหนดสูตรการปรับราคาได้ (ค่า K) เฉพาะสูตรที่จะนำมาคำนวณเงินเพิ่มหรือเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้างตามลักษณะงานก่อสร้างจริงก็สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถคำนวณการจ่ายเงินเพิ่มหรือเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้างตามสูตรได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์และเป็นธรรมกับผู้รับจ้าง
แนวทางการพิจารณาสิ่งของที่จัดเป็นวัสดุตามรายจ่ายงบประมาณเป็นวัสดุประเภทใด นั้น ปัจจุบันมิได้มีการกำหนดหลักการจำแนกไว้ จึงเป็นกรณีที่หน่วยรับงบประมาณจะเป็นผู้บันทึกในระบบบัญชีภายในของหน่วยงานให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งาน
การกำหนดราคากลางและการคำนวณราคากลางเป็นกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมบัญชีกลาง โดยการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับค่าน้ำมันตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ดังนั้น ขอให้สอบถามไปยังกรมบัญชีกลาง หรือสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง www.gprocurement.go.th
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และนิยามของการโอนเงินกลับส่วนกลางไว้ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๐ กำหนดว่า "ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องโอนงบประมาณที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดใดกลับส่วนราชการนั้นหรือโอนไปจังหวัดอื่น ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นแล้ว"
ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๓ กำหนดว่า การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินจากคลังได้ภายในปีงบประมาณ ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังได้เฉพาะในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และได้มีการกันเงินไว้ ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว การขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือนของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือน
ดังนั้น กรณีที่หารือ สำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ ถ้าเบิกจ่ายงบประมาณของปี ๒๕๖๒ ไม่ทันภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เงินจะถูกพับไปหรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า หากเป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปีที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นกำหนดเวลา และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายจากคลัง ก็ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้ไม่เกินหกเดือน
ปรับปรุงคำตอบ ณ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
สำนักงบประมาณขอเรียนว่า กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างวงเงินไม่เกินห้าสิบล้านบาท ผู้ว่าจ้างคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการตรวจสอบคำนวณ และอนุมัติค่า K เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐเจ้าของสัญญาเป็นผู้พิจารณาคำนวณเงินเพิ่มหรือลด และอนุมัติจ่ายเงินเพิ่มหรือเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้าง ตามเงื่อนไขของสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ ตามคู่มือการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่า K) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๑๑๔ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ และหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๔๐๗/ว ๑๕๐ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ www.bb.go.th หัวข้อ คู่มือเอกสารฯ คู่มือการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่า K)
หัวข้อ "ข่าวและกิจกรรม > เงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่า K) > คู่มือการคิดค่า K และมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง"
ตามหนังสือสำนักงบประมาณด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๔/ว ๖๘ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๒ เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ข้อ ๑.๓.๑ ได้กำหนดค่าครุภัณฑ์ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพ คงทนถาวร หรือตามปกติมีอายุการใช้งานยืนนาน ไม่สิ้นเปลือง หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น กรณี จัดซื้อเราเตอร์ไร้สาย จำนวน ๑ ชิ้น ราคา ๑,๐๕๐ บาท นั้น โดยสภาพของเราเตอร์มีลักษณะคงทนถาวร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง จึงจัดเป็นรายจ่ายงบลงทุนลักษณะค่าครุภัณฑ์
ที่เจาะกระเพาะโค ประกอบด้วย ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเข็มแหลมตัน ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๒๒ เซนติเมตร อีกส่วนหนึ่งเป็นกระบอกกลวง ทำด้วยเหล็กหรือสแตนเลส ดเมจับทำจากไม้เหล็ก สแตนเลส หรือพลาสติก ตามข้อมูลจำเพาะดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทน แต่เมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มค่า จึงจัดเป็นรายจ่ายงบดำเนินงาน ลักษณะค่าวัสดุคงทน ทั้งนี้ ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๔/ว ๓๗ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๙ เรื่อง แนวทางการพิจารณาสิ่งของที่จัดเป็นวัสดุและครุภัณฑ์ตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ